look alike sound alike LASA (ชื่อพ้องมองคล้าย)
นโยบาย
เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติแก่บุคลากรที่เกี่ยวข้องให้มีความระมัดระวังในการสั่งใช้ การเตรียมยา การจ่ายยา และการบริหารยาที่จัดเป็นยาที่มีชื่อคล้ายกัน รูปแบบยาคล้ายกัน อันจะส่งผลให้เกิดความคลาดเคลื่อนทางยาได้
นิยาม
ยาที่มีชื่อพ้อง มองคล้าย หรือLOOK ALIKE-SOUND ALIKE(LASA)
ยาชื่อพ้อง คือ ยาที่ออกเสียงคล้ายกัน หรือยาที่มีชื่อเหมือนกันแต่ต่างความแรง
ยามองคล้าย คือ ยาที่มีรูปแบบบรรจุภัณฑ์คล้ายกัน หรือรูปร่างเม็ดยา สีคล้ายกัน
รายการยาที่ชื่อพ้องมองคล้าย
1. Amoxicillin 250 mg <==> Amoxicillin 500 mg
2. Ammon carbonate <==>Ammon Mist Squill
3. Amitryptyline 10 mg <==>Amitryptyline 25 mg
4. Aspirin 60 mg <==> Aspirin 300 mg
5. Cefotaxime (Claforan) <==>Ceftazidime (Fortum)
6. Dicloxacillin 250 mg <==>Cloxacillin 250 mg
7. Diazepam 2 mg <==>Diazepam 5 mg
8. Enalapril 5 mg <==>Enalapril 20 mg
9. Glibenclamide <==>Glipizide
10. Hydrochlorothiazide <==>Amiloride + HCTZ
12. Hyoscine 10 mg <==>Hydroxyzine 10 mg
13. Isordil 5 mg <==>Isordil 10 mg
14. Lorazepam <==>Loratadine
15. Metronidazole 200 mg <==>Mebendazole 100 mg
16. Metronidazole 500 mg inj <==>Metroclopramide inj
17. Propranolol 10 mg <==>Propranolol 40 mg
18. Ranitidine inj <==>Hyoscine inj (ampคล้าย)
19.Triamcinolone 0.1%<==> Triamcinolone 0.02%
20.Trihexyphenidyl 2 mg <==>Trihexyphenidyl 5 mg
แนวทางปฏิบัติ
กรรมการ PTC – มีการทบทวนยาชื่อพ้องมองคล้าย (LASA) ที่มีใช้ในโรงพยาบาลเป็นประจำทุกปี
การจัดซื้อ - มีการจัดซื้อยาที่ชื้อคล้ายกันหรือชื่อเหมือนแต่ต่างความแรง ให้มีสีหรือหน้าตาของเม็ดยาแตกต่างกัน
การสั่งใช้
1. ให้แพทย์ผู้สั่งจ่ายใช้ชื่อสามัญทางยาในการสั่งใช้ยา หรือ เน้นความแตกต่างหรือความชัดเจนในใบสั่งยา เมื่อมียาชื่อพ้อง มองคล้าย (sound alike-look alike drugs) เหล่านี้
2. ลดการใช้คำสั่งการรักษาด้วยวาจาและคำสั่งการรักษาทางโทรศัพท์ หากจำเป็นต้องมีการทวน ชื่อยาซ้ำกับผู้สั่งใช้ยาอย่างน้อย 1 ครั้งเสมอ
โปรแกรมคอมพิวเตอร์
1.มีการจัดรูปแบบอักษรยาที่มีชื่อพ้องมองคล้าย (look alike –souud alike) เป็นตัวพิมพ์เล็กพิมพ์ใหญ่ให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้น
2. ฉลากยาที่ออกมาสำหรับจัดยาก็มีรูปแบบอักษรตัวพิมพ์เล็กพิมพ์ใหญ่ให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้น
เช่น LoraTADINE กับ LoraZEPAM
การจัดเก็บ
- แนวทางการจัดการเพื่อป้องกันการหยิบยาผิด คือจัดทำเครื่องหมายที่ชั้นวางยาให้เห็นเด่นชัด
การจัดยา
- ให้ระวังและโปรดสังเกตให้ดี เมื่อจะจัดยาหรือจ่ายยา ชื่อพ้อง มองคล้าย (sound alike-look
alike drugs) เหล่านี้ โดยจะต้องอ่านฉลากอย่างระมัดระวังทุกครั้งที่หยิบยา และอ่านซ้ำก่อนที่จะให้ยา โดยไม่วางใจกับการจดจำภาพ ที่เก็บ หรือสิ่งที่ไม่เจาะจงอื่นๆ
การบริหารยาและการตรวจสอบ
1. ควรมีการตรวจสอบเป้าหมายของการใช้ยาในคำสั่งใช้ยา และตรวจสอบการวินิจฉัยโรคที่เป็นปัจจุบันกับเป้าหมายหรือข้อบ่งชี้ในการให้ยาก่อนที่จะให้ยาอีกครั้งหนึ่ง
2. ผู้จ่ายยาจะต้องแจ้งผู้ป่วยทราบข้อบ่งชี้ของยา รูปลักษณ์ที่คาดหวังของยา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องชื่อ รูปร่างหน้าตาของเม็ดยาที่คล้ายกัน
ติดตามผลการดำเนินงาน
1. จำนวนครั้งของการลงข้อมูลยาที่เป็นกลุ่มยา LASA ของโรงพยาบาลผิด
2. จำนวนครั้งของการจ่ายยาที่กำหนดเป็นกลุ่มยา LASA ของโรงพยาบาลผิด
:: ประชาสัมพันธ์
-รวบรวมองค์ความรู้ด้านยา
-ประชาสัมพันธ์งานเภสัชกรรม
-แก้ไขปัญหาของการใช้ยา
ฝ่ายเภสัชกรรมชุมชน โรงพยาบาลท่าแพ 2551
-ประชาสัมพันธ์งานเภสัชกรรม
-แก้ไขปัญหาของการใช้ยา
ฝ่ายเภสัชกรรมชุมชน โรงพยาบาลท่าแพ 2551
เรื่องเล่าจากเภสัชกร...
16 มิถุนายน 2553
0
look alike sound alike LASA (ชื่อพ้องมองคล้าย)
เขียนโดย
ฝ่ายเภสัชท่าแพ
ที่
16:36
ป้ายกำกับ: patient safty goal
12 พฤษภาคม 2553
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
: : ค้นหา
Custom Search
Search
Categories
- ::ฝ่ายเภสัช (4)
- patient safty goal (4)
- EPI (1)
- ล้ำโลกRX (1)
:: ความรู้ด้านยา
Archives
-
: : กระทรวงสาธารณสุข
เกี่ยวกับฉัน
: : Recent Comments
: : ปฏิทิน
:: ประเภทบทความ
- ::ฝ่ายเภสัช (4)
- ล้ำโลกRX (1)
- EPI (1)
- patient safty goal (4)