:: ประชาสัมพันธ์

-รวบรวมองค์ความรู้ด้านยา
-ประชาสัมพันธ์งานเภสัชกรรม
-แก้ไขปัญหาของการใช้ยา


ฝ่ายเภสัชกรรมชุมชน โรงพยาบาลท่าแพ 2551

เรื่องเล่าจากเภสัชกร...

29 สิงหาคม 2551

0

การใช้calcium gluconate inj. ในผู้ป่วย

การใช้calcium gluconate inj. ในผู้ป่วยhyperkalemia ควรdiluteเป็นเท่าไรและในrateอย่างไร
Calcium gluconate มีข้อบ่งใช้ในการรักษาภาวะ Hyperkalemia แบบรุนแรง (serum potassium >7 mEq/L) เพื่อป้องกันหัวใจเกิดการเต้นผิดจังหวะ[1] แคลเซียมไอออนจะออกฤทธิ์ antagonize กับโปแตสเซียมบริเวณ cardiac membrane และแปลงเปลี่ยนแปลง EKG ให้กลับสู่ปกติอย่างรวดเร็ว ออกฤทธิ์ภายใน 1-2 นาที ออกฤทธิ์นาน 30-60 นาที และสามารถให้ซ้ำได้โดยดูจาก EKG เป็นหลัก[2]ยาจะบรรจุใน ampule ความเข้มข้น 10% solution ปริมาตร 10 mL ประกอบด้วยแคลเซียม 0.45 mEq/mL การบริหารยาทำโดยการฉีดเข้าหลอดเลือดดำ (IV bolus) แบบช้าๆ ไม่จำเป็นต้องเจือจาง[3] ฉีดประมาณ 5-10 นาที[2] การบริหารยาด้วยวิธีอื่นๆ ไม่แนะนำเพราะจะทำให้เกิดผลเสีย เช่น การบริหารยาด้วยการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ (Intramuscular) มีรายงานการเกิดเนื้อตาย[4] แต่รายงานการเกิดเนื้อตายของ Calcium gluconate จะต่ำกว่าของ Calcium chloride[2] การใช้แบบหยดเข้าหลอดเลือดดำ (IV infusion) จะใช้ในกรณีที่มีความฉุกเฉินน้อยกว่า เช่น ผู้ป่วยขาดแคลเซียม
[1]เอกสารอ้างอิง
[1] McEvoy GK, editor. AHFS information handbook. Bethesda: American Society of Health-System Pharmacist; 2004. p. 2485-6.[2] Dipiro JE, Talbert RL, Yee GC, Wells BG, Matzke GR, Posey LM, editors. Pharmacotherapy: A pathophysiologic approach. 5th ed. New York: McGraw-Hill; 2002. p. 986-9.[3] McMorran S, Treatment of hyperkalaemia in the emergency department. Emerg Med J 2001;18:233.[4] Trissel LA. Handbook on injectable drugs. 12th ed. Bethesda: American Society of Health-System Pharmacist; 2003. p. 203-4.
ที่มา http://drug.pharmacy.psu.ac.th/Question.asp?ID=5423&gid=1

18 สิงหาคม 2551

1

แนวทางการจัดยาผู้ป่วยใน

แนวทางการจัดยาผู้ป่วยใน
1.กรณียาเม็ด ห้องยาจะต้อง print สติกเกอร์หน้าซองยาเม็ดและยาน้ำทุกขวด
(ยาน้ำจะจัดให้แบบขวดไปให้ ตามมาตรฐาน HA)

2. กรณีคนไข้กลับบ้าน wardต้องคืนยาทุกตัวให้ห้องยา

17 สิงหาคม 2551

0

ยาในสตรีมีครรภ์ pregnancy category X & D

category X

1 Atorvastatin

2 Rosuvastatin

3 Simvastatin

4 Ergotamine tartrate

5 Finasteride

6 Quinine

7 Warfarin

8 Estrogens derivative

9 Clomiphene

10 Norethisterone(Primolut-N)



category D


Alprazolam

Amikacin C,D*

Amiodarone

Amitryptylline

Aspirin C,D&

Atenolol

Captopril C,D#

Carbamazepine

Celecoxib C,D$

Clonazepam

Clorazepate

Cotrimoxazole C,D$

Cyclophosphamide

Diazepam

Diclofenac B,D$

Doxorubicin

Doxycycline

Enalapril C,D#

Etoricoxib C,D$

Fluorouracil

Furosemide C,D

Gentamicin C,D*

HCTZ B,D

Ibuprofen B,D

Indapamide B,D

Imipramine

Indomethacin B,D

Irbesartan C,D

Lorazepam

Lithium

Losartan C,D

Mefenamic a C,D

Methimazole

Midazolam

Meloxicam C,D

Methotrexate

Metoprolol C,D

Piroxicam C,D

Phenobarbital

Phenytoin

Propranolol C,D

Propylthiouracil

Ramipril C,D

Spironolactone C,D

Streptomycin

Telmisartan : C,D

Tetracycline

Valproic acid

valsartan C,D

Vinblastine

Vincristine


ที่มา:ศูนย์ข้อมูลข่าวสารโรงพยาบาลสตูล

16 สิงหาคม 2551

0

ความแตกต่างระหว่างยาและเครื่องมือแพทย์

ยา ตาม พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม
"ยา" หมายความว่า

(1) วัตถุที่รับรองไว้ในตำรายาที่รัฐมนตรีประกาศ

(2) วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ในการวิจัย บำบัด บรรเทา รักษา หรือป้องกันโรค หรือความเจ็บป่วยของมนุษย์หรือสัตว์

(3) วัตถุที่เป็นเภสัชเคมีภัณฑ์ หรือเภสัชเคมีภัณฑ์ กึ่งสำเร็จรูปหรือ

(4) วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับให้เกิดผลแก่สุขภาพ โครงสร้างหรือการกระทำหน้าที่ใดๆ ของร่างกายมนุษย์หรือสัตว์วัตถุตาม (1) (2) หรือ (4) ไม่หมายความรวมถึง(ก) วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ในการเกษตร หรืออุตสาหกรรมตามที่รัฐมนตรีประกาศ(ข) วัตถุ ที่มุ่งหมายสำหรับใช้เป็นอาหารสำหรับมนุษย์ เครื่องกีฬา เครื่องมือที่ใช้ในการส่งเสริมสุขภาพ เครื่องสำอางหรือเครื่องมือ และส่วนประกอบของเครื่องมือ ที่ใช้ในการประกอบโรคศิลปะ หรือวิชาชีพเวชกรรม(ค) วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ในห้องวิทยาศาสตร์ สำหรับการวิจัยการวิเคราะห์ หรือการชันสูตรโรค ซึ่งมิได้กระทำโดยตรง ต่อร่างกายมนุษย์


เครื่องมือแพทย์ พระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2551“เครื่องมือแพทย์” หมายความว่า

(๑) เครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องกล วัตถุที่ใช้ใส่เข้าไปในร่างกายมนุษย์หรือสัตว์ น้ำยาที่ใช้ตรวจในห้องปฏิบัติการ ผลิตภัณฑ์ ซอฟต์แวร์ หรือวัตถุอื่นใด ที่ผู้ผลิตมุ่งหมายเฉพาะสำหรับใช้อย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ ไม่ว่าจะใช้โดยลำพัง ใช้ร่วมกันหรือใช้ประกอบกับสิ่งอื่นใด

(ก) ประกอบโรคศิลปะ ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ประกอบวิชาชีพทันตกรรม ประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ ประกอบวิชาชีพกายภาพบำบัด และประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นหรือประกอบวิชาชีพทางการแพทย์และสาธารณสุขอื่นตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด

(ข) วินิจฉัย ป้องกัน ติดตาม บำบัด บรรเทา หรือรักษา โรคของมนุษย์หรือสัตว์

(ค) วินิจฉัย ติดตาม บำบัด บรรเทา หรือรักษา การบาดเจ็บของมนุษย์หรือสัตว์

(ง) ตรวจสอบ ทดแทน แก้ไข ดัดแปลง พยุง ค้ำ หรือจุนด้านกายวิภาคหรือกระบวนการทางสรีระของร่างกายมนุษย์หรือสัตว์

(จ) ประคับประคองหรือช่วยชีวิตมนุษย์หรือสัตว์

(ฉ) คุมกำเนิด หรือช่วยการเจริญพันธุ์ของมนุษย์หรือสัตว์

(ช) ช่วยเหลือหรือช่วยชดเชยความทุพพลภาพหรือพิการของมนุษย์หรือสัตว์

(ซ) ให้ข้อมูลจากการตรวจสิ่งส่งตรวจจากร่างกายมนุษย์หรือสัตว์ เพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์หรือการวินิจฉัย

(ฌ) ทำลายหรือฆ่าเชื้อสำหรับเครื่องมือแพทย์

(๒) อุปกรณ์ หรือส่วนประกอบของเครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องกล ผลิตภัณฑ์ หรือวัตถุตาม (๑)

(๓) เครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องกล ผลิตภัณฑ์ หรือวัตถุอื่นที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดว่าเป็นเครื่องมือแพทย์ผลสัมฤทธิ์ตามความมุ่งหมายของสิ่งที่กล่าวถึงตาม (๑) ซึ่งเกิดขึ้นในร่างกายมนุษย์หรือสัตว์ต้องไม่เกิดจากกระบวนการทางเภสัชวิทยา วิทยาภูมิคุ้มกันหรือปฏิกิริยาเผาผลาญให้เกิดพลังงานเป็นหลัก

15 สิงหาคม 2551

0

แนวปฏิบัติสำหรับยาที่มีความเสี่ยงสูง

แนวปฏิบัติสำหรับยาที่มีความเสี่ยงสูง ( High Alert Drug )
โรงพยาบาลท่าแพ

วัตถุประสงค์
เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติแก่บุคลากรที่เกี่ยวข้องให้มีความระมัดระวังในการสั่งใช้ การเตรียมยา การจ่ายยา และการบริหารยาที่จัดเป็นยาที่มีความเสี่ยงสูง อันจะส่งผลให้เกิดความปลอดภัย และประสิทธิผลในการรักษาสูงสุดแก่ผู้ป่วย


นิยาม
High Alert Drug คือ กลุ่มยาที่มีความเสี่ยงสูงในการที่จะก่อให้เกิดอันตรายหรือผลเสียถ้ามีความผิดพลาดจากการใช้ยา เนื่องจากมีดัชนีการรักษาแคบ หรือมีผลต่ออวัยวะสำคัญ เช่น สมอง หัวใจ ไต ฯลฯ
(บุคลากรต้องตระหนักในอันตรายและเฝ้าระวังเพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความปลอดภัยจากยาเหล่านี้)


รายการยาความเสี่ยงสูง
สารละลาย electrolyte ในรูปแบบยาฉีด
- Magnesium sulfate (MgSO4) injection

- Potassium chloride (KCL) injection

- Calcium gluconate injection

กลุ่มยาหัวใจและหลอดเลือด

- Digoxin injection

- Dopamine injection

- Adrenaline injection

ยาเสพติด

- Morphine injection

- Pethidine injection

กลุ่มยาเคมีบำบัด

ทุกชนิดที่มีการ refer จากรพ.ศูนย์อื่นๆ


แนวปฎิบัติ
ข้อปฎิบัติในการสั่งใช้ยา การเตรียมยา การจ่ายยา และการบริหารยาที่จัดเป็นยาความเสี่ยงสูง เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย มีดังต่อไปนี้


1.แพทย์

1) การเขียนใบสั่งยาในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง ต้องเขียนชื่อสามัญทางยา หรือชื่อการค้าที่เป็นคำเต็ม ไม่ใช้ชื่อย่อ ยกเว้นรายการยาที่มีการกำหนดเป็นคำย่อที่สากล โดยให้ระบุความแรงของยาที่ต้องการ ชนิดรูปแบบยาเตรียม การบริหารยา ด้วยลายมือที่อ่านง่ายชัดเจน พร้อมทั้งระบุชื่อแพทย์ผู้สั่งใช้กำกับทุกครั้ง

2) การเขียนขนาดยา หรือความแรงของยา ให้ใช้หน่วยระบบเมตริก เช่น mg, mcg

3) ในการเขียนตัวเลข ขนาดยาที่ต้องการใช้ หากขนาดยาที่ใช้อยู่ในรูปทศนิยมมีค่าไม่เต็มหนึ่งให้ใส่เลข 0 ตามด้วยจุด และตามด้วยตัวเลขที่ต้องการ เช่น ต้องการใช้ยา 0.2 มิลลิกรัม ให้เขียน 0.2 mg และหากกรณีที่ขนาดยาที่ใช้เป็นเลขจำนวนเต็ม ต้องเขียนเป็นเลขจำนวนเต็มไม่ค้องใส่จุดทศนิยม เช่น 3 mg ไม่ใช่ 3.0 mg

4) การสั่งใช้ยาความเสี่ยงสูงที่ต้องเจือจางก่อนให้ทางหลอดเลือด ให้ระบุรายละเอียดจำนวนยาและสารน้ำที่ต้องการอย่างชัดเจน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน เช่น เขียนคำสั่งเป็น dopamine 500 mg + D5W 500 ml,adrenaline 10 amp + NSS 100 ml แทนการสั่งเป็น dopamine 1:1 หรือ adrenaline 1:10

5) การสั่งใช้ยาความเสี่ยงสูงโดยวาจา เช่น การสั่งใช้ยาทางโทรศัพท์ ให้ทำได้เฉพาะในกรณีฉุกเฉิน ซึ่งผู้ป่วยต้องได้รับยาอย่างเร่งด่วนเท่านั้น และต้องตามเขียนคำสั่งลงในใบ order ทันทีที่ทำได้ เช่น ภายในตอนเช้าของวันถัดไป กรณีที่สั่งใช้ในเวรดึก

6) การสั่งใช้ยาฉีด KCL,MgSO4 และ Calcium gluconate ให้ระบุหน่วย ดังนี้

- KCL injection ให้ระบุหน่วยเป็น mEq

- MgSO4 injection ให้ระบุหน่วยเป็น กรัม (Gm.) หรือ มิลลิกรัม (mg.)

- Calcium gluconate injection ให้ระบุหน่วยเป็น กรัม (Gm.) หรือ มิลลิกรัม (mg.) หรือสั่งใช้ในหน่วยมิลลิลิตร (ml) ได้ในกรณีที่ระบุความเข้มข้นชัดเจน เช่น 10% calcium gluconate 10 มล.


2. เภสัชกร

1) จัดทำรายการยาที่อยู่ในกลุ่มยาที่มีความเสี่ยงสูง และมีข้อมูลที่สำคัญต่างๆที่ต้องการสื่อสารให้ แพทย์ พยาบาล หรือผู้เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดแนวทางปฎิบัติเดียวกันทั้งโรงพยาบาล

2) สร้างความตระหนัก และข้อควรคำนึงถึงในการตรวจสอบยาในแต่ละกลุ่มตามประเด็นสำคัญที่ต้องนึกถึง

3) เก็บยาให้เป็นสัดส่วน และบริเวณที่เก็บยาความเสี่ยงสูงต้องมีป้ายคำเตือนที่เห็นได้ชัดเจน

4) ใบสั่งยา/ใบ copy ที่มียาความเสี่ยงสูง ต้องทำเครื่องหมายที่ชื่อยานั้นให้ชัดเจน เพื่อให้เกิดความระมัดระวังในการจัดยา ตรวจสอบ และการจ่ายยา

5) อ่านคำสั่งและขนาดยาให้ชัดเจน กรณีไม่มั่นใจให้สอบทานกับแพทย์ผู้สั่งใช้หรือพยาบาลประจำหอผู้ป่วยทันที

6) การเตรียมยาหรือจัดยาต้องมีการตรวจสอบซ้ำโดยบุคคลที่ไม่ได้เป็นผู้เตรียมหรือจัดก่อนที่จะจ่ายยาออกไป (independent check)

7) การจ่ายยาความเสี่ยงสูงในกรณีผู้ป่วยนอกต้องมีคำถามหลักที่ชัดเจนเพื่อยืนยันความถูกต้องของการใช้ยา

8) การจ่ายยาความเสี่ยงสูงให้แก่หอผู้ป่วยจะต้องติดสติกเกอร์คำเตือนหรือสัญลักษณ์ที่มองเห็นได้ชัดเจนทุกครั้ง เช่น “ High Alert Drug” “ใช้ NSS เท่านั้น” “ ใช้ D5W เท่านั้น”


3. พยาบาล

1) ยาความเสี่ยงสูงที่เป็น stock ward ต้องเก็บให้เป็นสัดส่วน และบริเวณที่เก็บยาความเสี่ยงสูงต้องมีป้ายคำเตือนที่เห็นได้ชัดเจน

2) ต้องไม่มี KCL injection เก็บเป็น stock อยุ่ในหอผู้ป่วย ยกเว้นเป็นยาที่สั่งใช้กับผู้ป่วยในขณะนั้น

3) ในการรับยาจากห้องยาทุกครั้งต้องทำการตรวจสอบยาที่ได้รับกับใบสั่งยาของแพทย์ให้ถูกต้องทั้ง ชื่อผู้ป่วย ชนิดยา ความแรง รูปแบบยาเตรียม จำนวน หากเป็นยาใหม่ที่ไม่คุ้นเคย หรือมีข้อสงสัย ให้โทรกลับไปยังห้องยาเพื่อยืนยันความถูกต้อง

4) การตรวจสอบยาก่อนการบริหารยา เมื่อจะหยิบใช้ยาเพื่อบริหารแก่ผู้ป่วย (พยาบาลผู้ตรวจสอบในข้อ 1 ไม่ควรเป็นคนเดียวกับข้อนี้)

5) ก่อนให้ยาให้ยืนยันความถูกต้องของผู้ป่วยอย่างน้อย 2 ตัวบ่งชี้ เช่น สอบถามชื่อ-นามสกุล และตรวจสอบที่ป้ายข้อมือ

6) สำหรับยาที่ต้องหยดเข้าหลอดเลือดดำ ผู้เตรียมต้องเขียนชื่อยาและความเข้มข้น พร้อมทั้งชื่อผู้เตรียมลงบนฉลากหรือใบปิดขวดน้ำเกลือที่เตรียมทุกครั้ง และในระหว่างให้ยาต้องมีการตรวจสอบการให้ยาซ้ำ โดยพยาบาลที่ไม่ได้เป็นผู้ให้ยา

7) พยาบาลผู้ให้ยามีการเฝ้าระวังอาการที่เป็นอันตรายที่สามารถเกิดได้จากการใช้ยาในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงระหว่างการให้ยา และมีการเตรียมการแก้ไขล่วงหน้าก่อนให้ยา เช่น เตรียมรถฉุกเฉิน หรือยาที่จำเป็นต้องใช้ในการแก้ไขอาการ


การใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูง

1. Magnesium sulfate

2. Calcium gluconate injection

3. Potassium chloride

4. Digoxin injection

5. Dopamine injection

6. Adrenaline injection

7. Morphine injection

8. Pethidine injection

9. ยาเคมีบำบัด ที่มีการ refer จากรพ.ศูนย์อื่นๆ


Magnesium


รูปแบบยา 10% MgSO4 ใน 10 ml 1 g/amp
50% MgSO4 ใน 2 ml 1 g/amp

แนวทางการให้IV Magnesium sulfate
1. ให้มีคำสั่งใช้ยาโดยระบุหน่วย mg , mEq ,Gm
2. ผสมใน NSS,D5W,Ringer lactate
ห้าม ผสมในสารละลายด่าง (เช่น Calcium injection,NaHCO3 )
ห้ามแช่ตู้เย็น ตกตะกอน
3. ใช้ระบบตรวจสอบซ้ำก่อน- หลังให้ยา
4. Rate ในการให้ IV MgSO4 ไม่เกิน 150 mg/min
5. เตรียม Calcium gluconate ไว้เป็น Antidote

อาการข้างเคียงของ Magnesium
1. กด CNS มีผลข้างเคียงกับการหายใจ
2. มีผลต่อ Cardiovascular ทำให้เกิด Flushing complete Heart Block
3. Overdose จะเกิด heart block


Calcium gluconate


Dosage form : ในโรงพยาบาล ขนาด 10 ml ความแรง 0.45 mEq/1ml


แนวทางการใช้ Calcium gluconate อย่างปลอดภัยสำหรับพยาบาล

1. ให้ IV push ช้าๆ(10-20 นาที)

2. เจือจางใน D5W ไม่ควรใช้ NSS ห้าม ผสมกับ NaHCO3,carbonate

3. เฝ้าระวัง Extravasation (ถ้าเกิด) หยุดให้ยา + เปลี่ยนเส้น


Potassium Chloride



Dosage form : ในโรงพยาบาล 1.5 g in 10 ml (20 mEq)

- KCL injection ก่อนใช้ต้องเจือจางด้วย NSS

- การผสมยาต้องเจือจางในถุงน้ำเกลือ พลิกกลับไปมาให้ตัวยากระจายทั่วก่อนให้ผู้ป่วย

- ความเข้มข้นที่เหมาะสมในการให้ยาทาง IV

Peripheral line £ 80 mEq/L (rate < injection =" 0.5">120 ให้รีบรายงานแพทย์


Dopamine


Dosage form ในโรงพยาบาล : 250 mg in 10 ml
ความคงตัว
- ผสมได้ทั้งใน NSS,D5W,Rinnger
- ห้ามผสมกับสารละลายที่เป็นด่าง เช่น NaHCO3
- ห้ามใช้ถ้าสารละลายเปลี่ยนเป็นสีเข้มขึ้น หรือเป็นสีเหลือง
หลักการใช้ยา dopamine ที่ปลอดภัยสำหรับพยาบาล
1. จัดเก็บ Dopamine ไว้ห่างจากยาที่มีลักษณะคล้ายกัน คือ Aminophylline
2. จัดเตรียมสารละลายมาตรฐานก่อนใช้ยา คือ
ดูด Dopamine 4 ml.ออกจาก amp ยาก่อน แล้วเติมลงใน D5W 100 ml.
จะได้สารละลาย Dopamine 1:1 (1 ml.มี Dopamine1 mg)

3. ให้Dopamine ทาง central vein เท่านั้น
4. พยาบาลให้ยาต้องเป็น Double check โดยมีลายเซ็นให้ยา 2 ท่าน
6. Monitor vital sign ทุก 20 นาที จนกว่าจะหยุดยา รายงานแพทย์เมื่อผู้ป่วย complain ใจสั่น หรือ Heart rate มากกว่า 100 ครั้ง/นาที
หมายเหตุ ในกรณี ต้องการเตรียมสารละลาย 2:1
1. ดูด Dopamine 8 ml.
2. เติม Dopamine ลงไปใน D5W 100 ml. จะได้ สารละลาย 2:1

Adrenaline



Adrenaline = Epinephine

Adrenaline acid tartrate 1:1000 =adrenaline 1 mg/ml
Dosage form ในโรงพยาบาล : 1mg/ml (ขนาด 1 ml)
ข้อควรระวัง การคำนวณยาผิด
อาการข้างเคียง : คลื่นไส้ เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ สั่น วิงเวียน หน้ามืด
อาการover dose : ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว หยุดหายใจ อาจเกิด ventricular fibrillation pulmonary edema ซึ่งถึงแก่ชีวิตได้

Morphine


Dosage form ในโรงพยาบาล : Morphine sulfate (ampule) =10 mg/ml
อาการไม่พึงประสงค์
- GI : ท้องผูก,คลื่นไส้อาเจียน
- CNS : ง่วงซึม®®(รุนแรง)กดประสาทส่วนกลาง,กดการหายใจ
- CVS : hypotension,bradycardia,palpitation
- ปัสสาวะคั่ง
หลักการใช้ยา Morphine ที่ปลอดภัยสำหรับพยาบาล
1. แพทย์งดใช้ชื่อย่อในการสั่งใช้ สั่งใช้เป็น mg เท่านั้น
2. ให้ได้ทาง
- IV push ช้าๆ (นาน ~ 4-5 นาที) ก่อนฉีดให้ผสมกับ sterile water for inj. 4-5 ml
- IV drip ความเข้มข้น 0.1-1 mg/ml ใน D5W หรือ NSS
3. Monitoring parameter
….RR < antidote =" Naloxone">

14 สิงหาคม 2551

1

ฝ่ายเภสัชกรรม โรงพยาบาลท่าแพ

ฝ่ายเภสัชกรรมโรงพยาบาลท่าแพ อ.ท่าแพ จ.สตูล